วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ศิลปะ



ความรู้พื้นฐานทางศิลปะ
1. ศิลปกรรม
เป็นวิชาที่ว่าด้วยความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ รวมทั้งหลักเกณฑ์การ
สร้างสรรค์ และคุณค่าของศิลปะ ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจ ประทับใจในศิลปะ แล้วนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันของตนเองและสังคม

1.1 ความหมายของศิลปะ
ศิลปะ (ART) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง และมีค่านิยมที่ไม่แน่นอนตายตัว 
ขึ้นอยู่กับผู้ให้คำนิยาม เช่น ศิลปิน นักการศึกษาทางศิลปะ และนักวิจารณ์ศิลปะ เป็นต้น จึงพอจะสรุปได้ว่า
“ศิลปะ คือ ผลงานของมนุษย์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงามและความพึง
พอใจของมนุษย์”

1.2 ความงามของธรรมชาติและความงามของศิลปะ
ความงามของธรรมชาติ ธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามกฎเกณฑ์ของ
ความเป็นจริง โดยส่วนรวมเกิดขึ้นตาม วัฏจักรของตนเอง และมีความจำเป็นต่อการดำรงชีพ มนุษย์เราอาศัยธรรมชาติเพื่อประโยชน์ทางร่างกายและทางจิตใจ เช่น ธรรมชาติทำให้เราเกิดความรู้สึกมีความสุขสดชื่น แจ่มใส และเบิกบาน เมื่อเราได้พบเห็น หรือไม่ได้รับอากาศอันบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ
ความงามของศิลปะ คือ ความงามที่เกิดจากการสร้างสรรค์จากความคิด สติปัญญา ของมนุษย์เท่านั้น ซึ่งแบ่งออกได้ ดังนี้
1. โดยการพิจารณาตามรูปแบบของศิลปะ ประกอบด้วย
1.1 ความงามของจิตรกรรม คือ ความงามที่แสดงออกเกี่ยวกับ เส้น สี แสง – เงา รูปร่าง
1.2 ความงามของปติมากรรม คือ ความงามที่แสดงออกให้เห็นถึง ปริมาตร แสง – เงา สัดส่วน
1.3 ความงามของสถาปัตยกรรม คือ ความงามที่แสดงออกให้เห็นรูปร่าง รูปทรง ปริมาตร บริเวณว่าง ความสะดวกในการใช้สอย
2. โดยการพิจารณาตามลักษณะของความมุ่งหมายในการแสดงออกประกอบด้วย
2.1 สร้างขึ้นเพื่อบรรยายหรืออธิบายตามเรื่องราว
2.2 สร้างขึ้นเพื่อแสดงออกเพื่ออารมณ์ตามความรู้สึก
2.3 สร้างขึ้นเพื่อประดับตกแต่งให้สวยงาม

1.3 คุณค่าของศิลปะ
1.3.1 คุณค่าของศิลปะทางความรู้สึกเช่น ความงาม ความเชื่อ เป็นต้น
1.3.2 คุณค่าของศิลปะทางการอำนวยประโยชน์ เช่น การอยู่อาศัย
1.3.3 คุณค่าของศิลปะในทางช่วยสร้างสรรค์ความเจริญเช่น ด้านมนุษยธรรม

2. ประเภทของศิลปะ (Classification of art)
แบ่งออกได้สองประเภท คือ
2.1 วิจิตรศิลป์ (Fine art) บางที่เราก็เรียกว่าประณีตศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่
ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ด้านจิตใจและอารมณ์แบ่งออกได้เป็น 5 แขนง คือ
2.1.1 จิตรกรรม หมายถึง การวาดภาพโดยใช้วัสดุการเขียนลงบนพื้นระนาบ
2.1.2 ประติมากรรม หมายถึง การปั้น การแกะสลัก และการหล่อ
2.1.3 สถาปัตยกรรม หมายถึง การออกแบบสิ่งก่อสร้างและที่อยู่อาศัย
2.1.4 วรรณกรรม หมายถึงการประพันธ์ต่างๆ
2.1.5 นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่แสดงออกทางท่าทางและทางเสียงที่มีจังหวะ

2.2 ประยุกต์ศิลป์ (Applied art) หมายถึง ศิลปะที่ตอบสนองความต้องการทางร่างกาย จิตใจ ได้แก่
2.2.1 พาณิชยศิลป์ หรือศิลป์เพื่อการค้า
2.2.2 อุตสาหกรรมศิลป์ หมายถึง ศิลป์ที่เป็นผลผลิตด้านอุตสาหกรรม
2.2.3 มัณฑนศิลป์ หมายถึง ศิลปะการออกแบบตกแต่ง ภายใน – ภายนอก
2.2.4 ศิลปหัตถกรรม หมาย ศิลปะที่ทำด้วยมือเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หัตถศิลป์”

ความเป็นมาของประยุกต์ศิลป์ มีบทบาทต่อสังคมมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์และ
ได้เจริญขึ้นตามกาลเวลา รูปแบบเปลี่ยนไปตามความนิยมของแต่ละยุคสมัย ซึ่งจำแนกได้ ดังนี้
1. ความต้องการทางประโยชน์ใช้สอย
2. สภาพทางสังคมตามสภาพความนิยม
3. สภาพทางเศรษฐกิจ

คุณค่า ของงานประยุกต์ศิลป์ มีดังนี้
1. คุณค่าทางประโยชน์ใช้สอย เช่น ขนาดสัดส่วนที่สัมพันธ์กับมนุษย์ ความเหมาะสมกับหน้าที่ใช้สอย ความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
2. คุณค่าทางความงาม เช่น การออกแบบอย่างสมบูรณ์ลงตัว

3. ทัศนศิลป์ (VISUAL ART)
ทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่มีตัวตน กินเนื้อที่ในอากาศ สามารถจับต้องได้และสนองประสาท สัมผัสทางตา สามารถแบ่งออกได้เป็นแขนงต่าง ๆ คือ
3.1 จิตรกรรม (PAINTING) คือการเขียนภาพโดยใช้สี ส่วนมากผู้เขียนใช้
พู่กัน ซึ่งเป็นการถ่ายทอดรูปแบบที่เห็นจากธรรมชาติ หรือ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นตามแนวความคิดสร้างสรรค์ ผู้ที่ทำงานจิตรกรรม เรียกว่า “จิตรกร(ARTIST)” ผลงานจิตรกรรมสามารถแยกตามลักษณะต่าง ๆ กัน คือ
3.1.1 เรียกชื่อตามวัสดุที่ใช้ เช่น จิตรกรรมสีน้ำ จิตรกรรมสีน้ำมัน จิตรกรรมสีอครีลิก ฯลฯ
3.1.2 เรียกชื่อตามเรื่องราว เช่น จิตรกรรมหุ่นนิ่ง จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ จิตรกรรมภาพคน ฯลฯ
3.1.3 เรียกชื่อตามตำแหน่งติดตั้ง เช่น จิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมโฆษณากล้างแจ้ง จิตรกรรมประดับผนังอาคาร, โรงแรม ฯลฯ

3.2 ประติมากรรม (SCULPTURE) มีลักษณะเป็นสามมิติ คือ มีความกว้าง 
ความยาว ความหนา หรือความสูง มีวิธีทำได้หลายวิธี เช่น
3.2.1 วิธีปั้น หมายถึง การเอาวัสดุส่วนย่อยเพิ่มเข้าเพื่อให้เป็นส่วนใหญ่ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ขี้ผึ้ง ฯลฯ
3.2.2 วิธีแกะสลัก หมายถึง การเอาส่วนย่อยออกจากส่วนรวม วัสดุที่ใช้ เช่น หินอ่อน ไม้ ศิลาแลง ฯลฯ
3.2.3 วิธีทุบ ตี วัสดุที่ใช้เป็นพวกโลหะ นำมาทำเพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ
3.2.4 วิธีหล่อ เป็นกระบวนการที่ต่อจากการทำประติมากรรมปั้นเพื่อให้ได้จำนวนมากตามความต้องการ

3.3 สถาปัตยกรรม (ARCHITECTURE) สถาปัตยกรรมเป็นงานที่รวม
จิตรกรรมและประติมากรรมมาประกอบด้วยมีขนาดใหญ่กว่าศิลปะแขนงอื่น ๆ เป็นทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบก่อสร้างเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ เป็นการกำหนดขอบเขตบริเวณว่างเพื่อให้เกิดประโยชน์ ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรม เรียกว่า สถาปนิก (ARCHITECT) 
ความเป็นมาของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมที่มี
ลักษณะเด่น ให้เห็นเด่นชัด สมัยแรกมนุษย์อยู่ตามถ้ำ ซึ่งมีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน ต่อมามนุษย์อพยพออกจากถ้ำแหล่งที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ก็คือ บริเวณใกล้แม่น้ำลำธาร เพื่อสะดวกในการไปมาหาสู่กัน เป็นที่สร้างที่อยู่อาศัยใช้ในการเพาะปลูก สถาปัตยกรรมจึงเป็นการก่อสร้างอันสำคัญของมนุษย์ ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของตนเองและสังคม
ประเภทของสถาปัตยกรรม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สถาปัตยกรรมที่เป็นปูชนียสถาน เป็นประเภทที่มนุษย์เข้าไปอยู่อาศัยไม่ได้
2. สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย เป็นประเภทที่มนุษย์เข้าไปอยู่ได้ เช่น อาคารบ้านเรือน
สถาปัตยกรรมแบ่งตามลักษณะวัสดุและเทคนิคการก่อสร้าง มี 4 ประเภท คือ
1. สถาปัตยกรรมเครื่องไม้
2. สถาปัตยกรรมเครื่องหิน
3. สถาปัตยกรรมคอนกรีตเสริมเหล็ก
4. สถาปัตยกรรมโครงเหล็ก

ทัศนธาตุ (VISUAL ELEMENTS) เป็นองค์ประกอบสำคัญของงานศิลป์ ได้แก่
1. เส้น (LINE) คือส่วนประกอบเบื้องต้นที่สำคัญ 
2. รูปร่างและรูปทรง
3. แสงและเงา
4. บริเวณว่าง
5. สี
6. ลักษณะพื้นผิว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น