วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

คริสต์ศาสนา



ศาสนาคริสต์ (อังกฤษChristianityราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนา[1] เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ [2] ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน
คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์"[3] ศาสนาคริสต์ปัจจุบันแบ่งเป็นสามนิกายใหญ่ คือ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์ ซึ่งยังแบ่งนิกายย่อยได้อีกหลายนิกาย เขตอัครบิดรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์แยกออกจากกันในช่วงศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) ใน ค.ศ. 1054 และนิกายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก[4]
ศาสนาคริสต์ในช่วงแรกถือเป็นนิกายหนึ่งของศาสนายูดาห์เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 1[5][6] โดยถือกำเนิดขึ้นในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของตะวันออกกลาง (ปัจจุบัน คือ อิสราเอลและปาเลสไตน์) ไม่นานก็แผ่ขยายไปยังซีเรีย เมโสโปเตเมีย เอเชียไมเนอร์ และอียิปต์ ศาสนาคริสต์มีขนาดและอิทธิพลเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษ และจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ได้กลายมาเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมัน[7] ระหว่างสมัยกลาง ดินแดนยุโรปที่เหลือส่วนมากรับศาสนาคริสต์แล้ว แต่บางภูมิภาค เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ เอธิโอเปีย และบางส่วนของอินเดีย คริสตชนยังถือเป็นศาสนิกชนกลุ่มน้อย[8][9] หลังยุคสำรวจ ศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายไปยังทวีปอเมริกา ออสตราเลเซีย แอฟริกาใต้สะฮารา และส่วนที่เหลือของโลกผ่านงานมิชชันนารีและการล่าอาณานิคม
คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระเยซูคือพระเมสสิยาห์ที่พยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งในศาสนาคริสต์เรียก "พันธสัญญาเดิม" พื้นฐานเทววิทยาศาสนาคริสต์นั้นแสดงออกมาในหลักข้อเชื่อสากล (ecumenical creed) ที่มีมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในบรรดาคริสต์ศาสนิกชน การประกาศความเชื่อนี้มีอยู่ว่า พระเยซูทรงรับพระทรมาน สิ้นพระชนม์ และถูกฝังไว้ ก่อนจะคืนพระชนม์เพื่อให้ชีวิตนิรันดร์แก่ผู้ที่เชื่อในพระองค์และไว้วางใจว่าพระองค์เป็นผู้ไถ่บาป[10] พวกเขายังเชื่ออีกว่าพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ที่ซึ่งพระองค์ทรงควบคุมและปกครองรวมกับพระเจ้าพระบิดา นิกายส่วนใหญ่สอนว่าพระเยซูจะกลับมาพิพากษามนุษย์ทุกคน ทั้งคนเป็นและคนตาย และให้ชีวิตนิรันดร์แก่สาวกของพระองค์[11] พระองค์ทรงถูกมองว่าเป็นแบบอย่างของชีวิตอันดีงาม และเป็นทั้งผู้เผยพระวจนะและเป็นพระเจ้าลงมารับสภาพมนุษย์[12]
ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ศาสนาคริสต์มีศาสนิกชนประมาณ 2.4 พันล้านคนทั่วโลก[13][14] คิดเป็นประมาณ 33% หรือหนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสามของประชากรโลก และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก[15][16] ทั้งยังเป็นศาสนาประจำชาติในหลายประเทศ

พุทธศาสนา



1. ครูเปิดซีดีเพลง อยุธยารำลึก ให้นักเรียนฟัง  แล้วให้นักเรียนฝึกร้องตามโดยครูนำเนื้อเพลงมาติดแสดงหน้าชั้นเรียนให้นักเรียนเห็นอย่างชัดเจน
                                                                     เพลงอยุธยารำลึก            “อยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อน จิตใจอาวรณ์มาเล่าสู่กันฟัง อยุธยาแต่ก่อนนี้ยัง เป็นดังเมืองทองของพี่น้องเผ่าพงษ์ไทย
             เดี๋ยวนี้ซิเป็นเมืองเก่า ชาวไทยแสนเศร้าถูกข้าศึกรุกราน ชาวไทยทุกคนหัวใจร้าวราน ข้าศึกเผาผลาญวอดวาย
             เราชนชั้นหลังมองแล้ววุ่นวาย อนุสรณ์เตือนชาวไทยจงมั่น     สมัครสมานร่วมใจกันสามัคคี คงจะไม่มีใครกล้าราวีชาติไทย”

2. ให้นักเรียนร้องเพลงพร้อมกัน  แล้วร่วมกันบอกความหมายและสาระสำคัญของเนื้อเพลงอยุธยารำลึก
3. ครูสอบถามนักเรียนว่า ใครเคยไปเที่ยวเมืองเก่า ที่  จ. อยุธยา บ้าง  จากนั้นครูให้นักเรียนที่เคยไปออกมาเล่าว่า มีอะไรบ้าง  พบเห็นอะไรบ้าง  และบอกความประทับใจในการไปเที่ยว 
4. ครูเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของอาณาจักรอยุธยา ให้นักเรียนเกิดความสนใจใคร่รู้    ดังนี้
            อยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นระยะเวลายาวนานถึง 417 ปี   เป็นอาณาจักรที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจากแว่นแคว้นโบราณ  มีความเจริญทางวัฒนธรรม มีความมั่นคงทางการเมือง การปกครอง  และเศรษฐกิจมีความเจริญรุ่งเรือง
5. ให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง  การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา  จากหนังสือเรียน  แล้วครูตั้งคำถาม   ให้นักเรียนช่วยกันตอบ เช่น
    - กรุงศรีอยุธยามีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาอาณาจักรอย่างไร
    - สมัยกรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำสายสำคัญอะไรบ้าง  และส่งผลดีอย่างไร
    - หลักฐานที่แสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยา มีอะไรบ้าง  
    - แคว้นโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา  คือแคว้นใดบ้าง
6. ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สามารถสถาปนาอาณาจักรอยุธยาเป็นราชธานีได้สำเร็จ

ชั่วโมงที่ 3-41. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาและยกตัวอย่างบุคคล หรือผู้นำที่มีความสามารถในการส่งเสริมความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและการเมือง  การปกครองของอาณาจักรอยุธยา
2. ครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่า   เมื่อแรกตั้งอาณาจักรอยุธยา  ยังไม่ได้มีอำนาจเหนือดินแดนใกล้เคียง  แต่ได้มีการสร้างสมความเจริญ  ความเป็นปึกแผ่นมาเรื่อยๆ จนเป็นอาณาจักรที่มั่นคง  และมีความเจริญรุ่งเรือง  
3. ให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนสนิท  เพื่อร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและการเมือง  การปกครองของอาณาจักรอยุธยา  จากหนังสือเรียน
4. ให้นักเรียนแต่ละคู่ร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ครูกำหนดว่า   การมีพื้นฐานวัฒนธรรม มีประโยชน์หรือส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยาอย่างไร
5. นักเรียนร่วมกันสรุปผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น  แล้วครูสุ่มเรียกนักเรียนคู่อื่นๆ บอกผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็นของคู่ตนเอง 
6. นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ตามประเด็นที่กำหนด  ดังนี้
    - การมีพื้นฐานวัฒนธรรมมาตั้งแต่โบราณ
    - การมีผู้นำที่มีความสามารถ
    - การมีที่ตั้งที่ดีและอุดมสมบูรณ์
    - การจัดระเบียบการปกครอง
7. ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง อยุธยาเมืองเก่า  เมื่อนักเรียนทำใบงานเสร็จแล้วให้นักเรียนแลกเปลี่ยนกันตรวจตามที่ครูเฉลย

ศิลปะ



ความรู้พื้นฐานทางศิลปะ
1. ศิลปกรรม
เป็นวิชาที่ว่าด้วยความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ รวมทั้งหลักเกณฑ์การ
สร้างสรรค์ และคุณค่าของศิลปะ ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจ ประทับใจในศิลปะ แล้วนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันของตนเองและสังคม

1.1 ความหมายของศิลปะ
ศิลปะ (ART) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง และมีค่านิยมที่ไม่แน่นอนตายตัว 
ขึ้นอยู่กับผู้ให้คำนิยาม เช่น ศิลปิน นักการศึกษาทางศิลปะ และนักวิจารณ์ศิลปะ เป็นต้น จึงพอจะสรุปได้ว่า
“ศิลปะ คือ ผลงานของมนุษย์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงามและความพึง
พอใจของมนุษย์”

1.2 ความงามของธรรมชาติและความงามของศิลปะ
ความงามของธรรมชาติ ธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามกฎเกณฑ์ของ
ความเป็นจริง โดยส่วนรวมเกิดขึ้นตาม วัฏจักรของตนเอง และมีความจำเป็นต่อการดำรงชีพ มนุษย์เราอาศัยธรรมชาติเพื่อประโยชน์ทางร่างกายและทางจิตใจ เช่น ธรรมชาติทำให้เราเกิดความรู้สึกมีความสุขสดชื่น แจ่มใส และเบิกบาน เมื่อเราได้พบเห็น หรือไม่ได้รับอากาศอันบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ
ความงามของศิลปะ คือ ความงามที่เกิดจากการสร้างสรรค์จากความคิด สติปัญญา ของมนุษย์เท่านั้น ซึ่งแบ่งออกได้ ดังนี้
1. โดยการพิจารณาตามรูปแบบของศิลปะ ประกอบด้วย
1.1 ความงามของจิตรกรรม คือ ความงามที่แสดงออกเกี่ยวกับ เส้น สี แสง – เงา รูปร่าง
1.2 ความงามของปติมากรรม คือ ความงามที่แสดงออกให้เห็นถึง ปริมาตร แสง – เงา สัดส่วน
1.3 ความงามของสถาปัตยกรรม คือ ความงามที่แสดงออกให้เห็นรูปร่าง รูปทรง ปริมาตร บริเวณว่าง ความสะดวกในการใช้สอย
2. โดยการพิจารณาตามลักษณะของความมุ่งหมายในการแสดงออกประกอบด้วย
2.1 สร้างขึ้นเพื่อบรรยายหรืออธิบายตามเรื่องราว
2.2 สร้างขึ้นเพื่อแสดงออกเพื่ออารมณ์ตามความรู้สึก
2.3 สร้างขึ้นเพื่อประดับตกแต่งให้สวยงาม

1.3 คุณค่าของศิลปะ
1.3.1 คุณค่าของศิลปะทางความรู้สึกเช่น ความงาม ความเชื่อ เป็นต้น
1.3.2 คุณค่าของศิลปะทางการอำนวยประโยชน์ เช่น การอยู่อาศัย
1.3.3 คุณค่าของศิลปะในทางช่วยสร้างสรรค์ความเจริญเช่น ด้านมนุษยธรรม

2. ประเภทของศิลปะ (Classification of art)
แบ่งออกได้สองประเภท คือ
2.1 วิจิตรศิลป์ (Fine art) บางที่เราก็เรียกว่าประณีตศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่
ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ด้านจิตใจและอารมณ์แบ่งออกได้เป็น 5 แขนง คือ
2.1.1 จิตรกรรม หมายถึง การวาดภาพโดยใช้วัสดุการเขียนลงบนพื้นระนาบ
2.1.2 ประติมากรรม หมายถึง การปั้น การแกะสลัก และการหล่อ
2.1.3 สถาปัตยกรรม หมายถึง การออกแบบสิ่งก่อสร้างและที่อยู่อาศัย
2.1.4 วรรณกรรม หมายถึงการประพันธ์ต่างๆ
2.1.5 นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่แสดงออกทางท่าทางและทางเสียงที่มีจังหวะ

2.2 ประยุกต์ศิลป์ (Applied art) หมายถึง ศิลปะที่ตอบสนองความต้องการทางร่างกาย จิตใจ ได้แก่
2.2.1 พาณิชยศิลป์ หรือศิลป์เพื่อการค้า
2.2.2 อุตสาหกรรมศิลป์ หมายถึง ศิลป์ที่เป็นผลผลิตด้านอุตสาหกรรม
2.2.3 มัณฑนศิลป์ หมายถึง ศิลปะการออกแบบตกแต่ง ภายใน – ภายนอก
2.2.4 ศิลปหัตถกรรม หมาย ศิลปะที่ทำด้วยมือเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หัตถศิลป์”

ความเป็นมาของประยุกต์ศิลป์ มีบทบาทต่อสังคมมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์และ
ได้เจริญขึ้นตามกาลเวลา รูปแบบเปลี่ยนไปตามความนิยมของแต่ละยุคสมัย ซึ่งจำแนกได้ ดังนี้
1. ความต้องการทางประโยชน์ใช้สอย
2. สภาพทางสังคมตามสภาพความนิยม
3. สภาพทางเศรษฐกิจ

คุณค่า ของงานประยุกต์ศิลป์ มีดังนี้
1. คุณค่าทางประโยชน์ใช้สอย เช่น ขนาดสัดส่วนที่สัมพันธ์กับมนุษย์ ความเหมาะสมกับหน้าที่ใช้สอย ความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
2. คุณค่าทางความงาม เช่น การออกแบบอย่างสมบูรณ์ลงตัว

3. ทัศนศิลป์ (VISUAL ART)
ทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่มีตัวตน กินเนื้อที่ในอากาศ สามารถจับต้องได้และสนองประสาท สัมผัสทางตา สามารถแบ่งออกได้เป็นแขนงต่าง ๆ คือ
3.1 จิตรกรรม (PAINTING) คือการเขียนภาพโดยใช้สี ส่วนมากผู้เขียนใช้
พู่กัน ซึ่งเป็นการถ่ายทอดรูปแบบที่เห็นจากธรรมชาติ หรือ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นตามแนวความคิดสร้างสรรค์ ผู้ที่ทำงานจิตรกรรม เรียกว่า “จิตรกร(ARTIST)” ผลงานจิตรกรรมสามารถแยกตามลักษณะต่าง ๆ กัน คือ
3.1.1 เรียกชื่อตามวัสดุที่ใช้ เช่น จิตรกรรมสีน้ำ จิตรกรรมสีน้ำมัน จิตรกรรมสีอครีลิก ฯลฯ
3.1.2 เรียกชื่อตามเรื่องราว เช่น จิตรกรรมหุ่นนิ่ง จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ จิตรกรรมภาพคน ฯลฯ
3.1.3 เรียกชื่อตามตำแหน่งติดตั้ง เช่น จิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมโฆษณากล้างแจ้ง จิตรกรรมประดับผนังอาคาร, โรงแรม ฯลฯ

3.2 ประติมากรรม (SCULPTURE) มีลักษณะเป็นสามมิติ คือ มีความกว้าง 
ความยาว ความหนา หรือความสูง มีวิธีทำได้หลายวิธี เช่น
3.2.1 วิธีปั้น หมายถึง การเอาวัสดุส่วนย่อยเพิ่มเข้าเพื่อให้เป็นส่วนใหญ่ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ขี้ผึ้ง ฯลฯ
3.2.2 วิธีแกะสลัก หมายถึง การเอาส่วนย่อยออกจากส่วนรวม วัสดุที่ใช้ เช่น หินอ่อน ไม้ ศิลาแลง ฯลฯ
3.2.3 วิธีทุบ ตี วัสดุที่ใช้เป็นพวกโลหะ นำมาทำเพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ
3.2.4 วิธีหล่อ เป็นกระบวนการที่ต่อจากการทำประติมากรรมปั้นเพื่อให้ได้จำนวนมากตามความต้องการ

3.3 สถาปัตยกรรม (ARCHITECTURE) สถาปัตยกรรมเป็นงานที่รวม
จิตรกรรมและประติมากรรมมาประกอบด้วยมีขนาดใหญ่กว่าศิลปะแขนงอื่น ๆ เป็นทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบก่อสร้างเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ เป็นการกำหนดขอบเขตบริเวณว่างเพื่อให้เกิดประโยชน์ ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรม เรียกว่า สถาปนิก (ARCHITECT) 
ความเป็นมาของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมที่มี
ลักษณะเด่น ให้เห็นเด่นชัด สมัยแรกมนุษย์อยู่ตามถ้ำ ซึ่งมีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน ต่อมามนุษย์อพยพออกจากถ้ำแหล่งที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ก็คือ บริเวณใกล้แม่น้ำลำธาร เพื่อสะดวกในการไปมาหาสู่กัน เป็นที่สร้างที่อยู่อาศัยใช้ในการเพาะปลูก สถาปัตยกรรมจึงเป็นการก่อสร้างอันสำคัญของมนุษย์ ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของตนเองและสังคม
ประเภทของสถาปัตยกรรม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สถาปัตยกรรมที่เป็นปูชนียสถาน เป็นประเภทที่มนุษย์เข้าไปอยู่อาศัยไม่ได้
2. สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย เป็นประเภทที่มนุษย์เข้าไปอยู่ได้ เช่น อาคารบ้านเรือน
สถาปัตยกรรมแบ่งตามลักษณะวัสดุและเทคนิคการก่อสร้าง มี 4 ประเภท คือ
1. สถาปัตยกรรมเครื่องไม้
2. สถาปัตยกรรมเครื่องหิน
3. สถาปัตยกรรมคอนกรีตเสริมเหล็ก
4. สถาปัตยกรรมโครงเหล็ก

ทัศนธาตุ (VISUAL ELEMENTS) เป็นองค์ประกอบสำคัญของงานศิลป์ ได้แก่
1. เส้น (LINE) คือส่วนประกอบเบื้องต้นที่สำคัญ 
2. รูปร่างและรูปทรง
3. แสงและเงา
4. บริเวณว่าง
5. สี
6. ลักษณะพื้นผิว

ภาษาจีน




  1. 1. บันทึกหน่วยการเรียนรู้และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 1) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การสะกดพินอิน เวลา 5 ชั่วโมง รายวิชา ภาษาจีน1 รหัส จ 20201 ระดับชั้น ม.1 (วิชาเลือก) 2) ผลการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ 2 ระบุสัทอักษรตามระบบพินอิน และประสมเสียงคาง่าย ๆตามหลักการออกเสียง ผลการเรียนรู้ 4 ตอบคาถามง่าย ๆ จากการฟัง ผลการเรียนรู้ 7 พูดโต้ตอบด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อสื่อสารระหว่างบุคคล ผลการเรียนรู้ 6 พูดเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัวและสิ่งใกล้ตัว 3) ความคิดรวบยอด พูดโต้ตอบสั้นๆ ด้วยถ้อยคาสุภาพ อ่านออกเสียงคา วลี ข้อความ และบทความได้ถูกต้องตามหลักการออกเสียง อีกทั้งเข้าใจความแตกต่างระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทยในเรื่องคา วลี สานวน ประโยค ข้อความต่างๆ และนาไปใช้ใน สถานการณ์ต่างๆอย่างถูกต้องเหมาะสม 4) สาระการเรียนรู้ ความรู้(K) – พูดโต้ตอบ – อ่านออกเสียง – เข้าใจ ทักษะกระบวนการ(P) – ถ้อยคาสุภาพตามมารยาท – คา วลี ข้อความ และบทความ – ความแตกต่างระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) – รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ – ซื่อสัตย์สุจริต 5) สมรรถนะของผู้เรียน – ความสามารถในการจดจา – ความสามารถในการสนทนา 6) ชิ้นงาน/ภาระงาน – พูดสนทนาโต้ตอบ -บอกลักษณะร่างกายของตนเอง เพื่อน และครอบครัวตามบทเรียน
  2. 2. 7) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1 -2 ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน 1. ครูทักทายนักเรียน 2. ครูสอนเกี่ยวกับการบอกชั้นในห้องเรียน 3. อธิบายซ้าหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนเข้าใจ ขั้นสอน/ฝึกปฏิบัติ 1. ครูสอนวิธีอ่านพยัญชนะในภาษาจีนทั้งหมด 2. ให้นักเรียนฝึกอ่านด้วยตนเองซ้าไปมา 3. สอนเสียงสระจานวน 6 ตัว 4. ให้นักเรียนฝึกอ่านด้วยตนเองซ้าไปมา 5. อธิบายนักเรียนเกี่ยวกับวิธีการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน b-h กับสระ ทั้ง 6 ตัว เช่น ba mo de ni gu lü ชั่วโมงที่ 3-4 ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน 1. ครูทักทายนักเรียน 2. ให้นักเรียนอ่านทบทวนพยัญชนะและสระที่เรียนมาทั้งหมด b p m f p t n l g k h j q x z c s zh ch sh r y w a o e I u ü
  3. 3. ขั้นสอน/ฝึกปฏิบัติ 1. ทบทวนวิธีการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน b-h กับสระ ทั้ง 6 ตัว 2. อธิบายเกียวกับการผันเสียงในภาษาจีน เช่น bā bá bǎ bà 3. ให้นักเรียนฝึกผันเสียง ซ้า ๆ ไปมา จนแน่ใจว่านักเรียนเริ่มคล่อง 4. เล่นเกมส์ โดยให้คะแนนนักเรียนที่สามารถเขียนตามคาบอกพินอินได้อย่างถูกต้อง ตามหลักการประสม คา 5. สอนเสียงสระเพิ่มให้ครบทั้งหมด โดยอธิบายหลักการออกเสียงที่ถูกต้อง เช่น ai มาจาก เสียง a + i = ai 6. ให้นักเรียนฝึกอ่านด้วยตนเองทั้งหมดซ้าไปมาหลาย ๆ ครั้ง 7. ให้ภาระงานนักเรียน ท่องพยัญชนะ และสระทั้งหมด ชั่วโมงที่ 5-6 ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน 1. ครูทักทายนักเรียน 2. ให้นักเรียนอ่านทบทวนพยัญชนะและสระที่เรียนมาทั้งหมด ขั้นสอน/ฝึกปฏิบัติ 1. ทบทวนวิธีการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน b-h กับสระ ทั้งหมด 2. ครูอธิบายการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน j-x กับสระ ทั้งหมด เช่น j q x ใช้ได้กับสระ i และ ü หรือสระผสมที่ขึ้นต้นด้วย i และ ü เท่านั้น เช่น ji jü qi xüe หมายเหตุ เนื่องจาก j q x ไม่สามารถผสมกับสระอื่นได้นอกจาก i และ ü ดังนั้นเวลาเขียน สระ ü จึงไม่นิยมใส่ จุด เช่น ju quan xue 3. ตั้งคาถามนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักเกณฑ์ เช่น j q x ประสมกับสระ aได้ไหม เพราะอะไร 4. ครูอธิบายการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน z-r กับสระ ทั้งหมด เช่น z c s zh ch sh r ไม่สามารถใช้ผสมได้กับสระ ü หรือสระผสมที่ ขึ้นต้นด้วย i และ ü เท่านั้น เช่น ji jü qi xüe
  4. 4. หมายเหตุ z c s zh ch sh r ผสมได้กับสระ i อ่านว่าออกเสียงเป็น “อือ” เช่น zi ci si shi 5. ตั้งคาถามนักเรียกรนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักเกณฑ์ เช่น zh ประสมกับสระ aได้ไหม เพราะอะไร และ zh ประสมกับสระ ia ได้ไหม เพราะอะไร 6. เล่นเกมส์เขียนตามคาบอกบนกระดาน ชั่วโมงที่ 7-8 1. ครูทักทายนักเรียน 2. ให้นักเรียนอ่านทบทวนพยัญชนะและสระที่เรียนมาทั้งหมด ขั้นสอน/ฝึกปฏิบัติ 1. ทบทวนวิธีการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน กับสระ ทั้งหมด 2. ตั้งคาถามนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักเกณฑ์การประสมคา เช่น j q x ประสมกับสระ aได้ไหม เพราะอะไร 3. ครูอธิบายการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน y-w กับสระ ทั้งหมด เช่น y+a=ya w+a=wa y+e=ye w+o=wo y+in=yin w+u=wu y+ing=ying w+ai=wai y+ao=yao w+an=wan y+an=yan w+ang=wang y+ang=yang y+a=yong y+u=yu y+=yue y+a=yun y+a=yuan
  5. 5. 4. ตั้งคาถามนักเรียกรนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักเกณฑ์ เช่น y ประสมกับสระ aได้ไหม เพราะอะไร และ w ประสมกับสระ ü ได้ไหม เพราะอะไร 5. เล่นเกมส์เขียนตามคาบอกบนกระดาน 8) ขั้นสรุปการเรียนรู้ 1. ครูทบทวนคาศัพท์และประโยคต่างๆ ทั้งหมดในบทเรียน 2. นักเรียนสนทนาคู่เกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียน 9) การวัดและประเมินผล การประเมินผล เกณฑ์การประเมิน 4 3 2 1 การพูด สื่อสารได้ตรงประเด็น เนื้อหาถูกต้องตามหัวข้อ ที่กาหนด ออกเสียง ถูกต้องใช้คาศัพท์ สานวน และโครงสร้าง ภาษาถูกต้อง สื่อสารได้ตรง ประเด็น เนื้อหาถูกต้อง เป็นส่วนใหญ่ ออกเสียงได้ ถูกต้อง สื่อสารได้ตรง ประเด็นเป็น บางส่วน เนื้อหา และการออกเสียง ถูกต้องเป็นบางส่วน สื่อสารได้ เนื้อหาน้อย ออกเสียง ไม่ถูกต้อง เป็นส่วนใหญ่ การประเมินสาระการเรียนรู้ 1) การประเมินความรู้ (K) วิธีประเมิน เกณฑ์การพูดสนทนา เกณฑ์การอ่านออกเสียง 2) การประเมินทักษะกระบวนการ/ตัวบ่งชี้พฤติกรรม (P) วิธีประเมิน เกณฑ์การประเมินไวยากรณ์และการสะกดคา 3) การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) วิธีประเมิน เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 10) แหล่งเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ – คอมพิวเตอร์, โทรทัศน์ – ใบความรู้ – ซีดีประกอบการฟัง – แบบฝึกคัดตัวอักษรจีน

ดนตรีนาฎศิลป์



1. เสียง (Tone)
เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่เป็นไปอย่างสม่ำ เสมอ ส่วนเสียงอึกทึกหรือเสียงรบกวน (Noise) เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ลักษณะความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กบคุณสมบัติสำคัญ 4ประการ คือ ระดับเสียง ความยาวของเสียง ความเข้มของเสียง และคุณภาพของเสียง
1.1 ระดับเสียง (Pitch) หมายถึง ระดับความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดการจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือน กล่าวคือ ถ้าเสียงที่มีความถี่สูง ลักษณะการสั่นสะเทือนเร็ว จะส่งผลให้มีระดับเสียงสูง แต่ถ้าหากเสียงมีความถี่ต่ำ ลักษณะการสั่นสะเทือนช้าจะส่งผลให้มีระดับเสียงต่ำ
1.2 ความสั้น-ยาวของเสียง (Duration) หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว และตัวดำ เป็นต้น สำหรับในดนตรีไทยนั้น แต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลัก แต่ย่างไรก็ตาม การสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอก ฆ้องวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ
1.3 ความเข้มของเสียง (Intensity) ความเข้มของสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนักเบาของเสียง ความเข้มของเสียงจะเป็นคุณสมบัติที่ก่อประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มี ลีลาจังหวะที่สมบูรณ์
1.4 คุณภาพของเสียง (Tone Quality) เกิดจากคุณภาพของแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของเสียงเกิดความแตกต่างกันนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วิธีการผลิตเสียง รูปทรงของแหล่งกำเนิดเสียง และวัสดุที่ใช้ทำแหล่งกำเนิดเสียง ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะคุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะสีสันของสียง (Tone Color) ระหว่างเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งกับเครื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน
1.5 “สีสันของเสียง” (Tone color ) หมายถึง คุณลักษณะของเสียงที่กำเนิดจากแหล่งเสียงที่แตกต่างกัน แหล่งกำเนิดเสียงดังกล่าว เป็นได้ทั้งที่เป็นเสียงร้องของมนุษย์และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ความแตกต่างของเสียงร้องมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพศชายกับเพศหญิง หรือระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานของการแตกต่างทางด้านสรีระ เช่น หลอดเสียงและกล่องเสียง เป็นต้น

พละศึกษา



สุขศึกษาและพลศึกษาสำคัญอย่างไร?

สุขศึกษาและพลศึกษาเป็นการศึกษาด้านสุขภาพที่มีเป้าหมายเพื่อการดำรงสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ และการพัฒนาคุณ ภาพชีวิตของบุคคล ครอบครัว และชุมชนให้ยั่งยืน
  • สุขศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาพฤติกรรมด้านความรู้ เจตคติ คุณธรรม ค่านิยม และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพควบคู่ไปด้วยกัน
  • พลศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกมและกีฬา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโดยรวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา รวมทั้งสมรรถภาพเพื่อสุขภาพและกีฬา